Latest Articles

“น้ำหนักเยอะ” ตัวการสำคัญเสี่ยงโรคแทรกซ้อน

น้ำหนักเยอะเสี่ยงโรคแทรกซ้อน

น้ำหนักเยอะเกินไปอันตรายจริงหรือ? ถ้าน้ำหนักเยอะแล้วเสี่ยงโรคอะไรบ้าง? ทำความรู้จักกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจตามมาเพื่อให้คุณสามารถป้องกันและควบคุมน้ำหนักได้อย่างทันท่วงที!

น้ำหนักเกินคืออะไร? น้ำหนักเยอะแค่ไหนถึงเสี่ยงโรค

น้ำหนักเยอะเสี่ยงหลายโรค

เมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าน้ำหนักเกิน? เป็นคำถามที่ใครหลายๆ คนยังต้องการคำตอบ โดยทั่วไปแล้วน้ำหนักที่เยอะจนเริ่มมีความเสี่ยงจะไม่สามารถคำนวณได้จากตราชั่งเพียงอย่างเดียว แต่จะดูที่เลขดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นหลัก

โดยหากเลขดัชนีมวลกายมีมากกว่า 23 เป็นต้นไปก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นเสี่ยงเนื่องจากมีภาวะน้ำหนักเกินแล้ว แต่หากมีเลขดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเพราะถือว่าเป็นโรคอ้วนนั่นเอง

น้ำหนักเยอะแล้วเสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมื่อมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแน่นอนว่าย่อมมีโรคต่าง ๆ ตามมา เพราะร่างกายมีไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ มากจนเกินไป ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ  โดยโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำหนักเยอะเกินไปมีดังนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคไขมันพอกตับ
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคมะเร็ง

สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกิน

หลาย ๆ ครั้งผู้ที่มีน้ำหนักมากมักไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรน้ำหนักตนเองจึงเยอะเกินไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เข้าสู่ภาวะน้ำหนักเยอะจนเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เสียแล้ว ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงสาเหตุจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยและควบคุมน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนน้ำหนักเยอะไม่รู้ตัวจนเกิดความเสี่ยงได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงมากเกินไป เช่น อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและอาหารที่มีน้ำตาลสูง
  • ไม่ออกกำลังกายจนเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
  • เป็นผู้มีภาวะฮอร์โมนผิดปกติจากโรคหรือการรับประทานยาบางชนิด
  • มีภาวะเครียดหรือเกิดเรื่องราวที่กระทบต่อจิตใจและอารมณ์

แนวทางหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้น้ำหนักเกิน

หลีกเลี่ยงน้ำหนักเกินอย่างไรให้ได้ผล

เมื่อรู้แล้วว่าน้ำหนักเกินเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เราก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี และการใช้วิธีต่าง ๆ ร่วมกันก็จะช่วยให้การควบคุมน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม 

ตัวอย่างวิธีควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกินได้แก่

1. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงให้น้อยลง เช่นการลดของทอด ของผัด ของหวาน น้ำหวาน ตลอดจนแป้งจากข้าว 

2. รับประทานอาหารที่มีกากใยหรืออาหารที่ดีต่อระบบขับถ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ท้องและช่วยให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้อยางมีประสิทธิภาพ

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพียงแค่ออกอย่างพอประมาณเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น และลดพลังงานส่วนเกินตลอดจนเผาผลาญไขมันได้ดีกว่าเดิม

4. ใช้ปากกาลดน้ำหนักช่วย โดยเลือกปากกาลดน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ เพราะจะช่วยให้คุณควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการแบบเดียวกับที่มีอยู่ในร่างกายแต่เดิม ทำให้อิ่มได้นาน แต่ยังรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ ทำให้ไม่เกิดผลโยโย่ในภายหลัง

5. ทำสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทำให้ไม่ต้องกินยาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก ตลอดจนสามารถรับประทานอาหารได้อย่างเป็นปกติอีกด้วย 

สรุป

น้ำหนักตัวที่เยอะเกินไปจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคในร่างกายได้มากมาย เช่น โรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน ตลอดจนโรคไขมันพอกตามส่วนต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมอยู่เสมอด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ปากกาลดน้ำหนัก รวมไปถึงการทำสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงนั่นเอง


อยากเริ่มต้นควบคุมน้ำหนัก? ต้องการปากกาลดน้ำหนักมาเป็นตัวช่วยแต่ไม่รู้ต้องเลือกอย่างไร?

สามารถกดสั่งซื้อได้ที่ https://rb.gy/y62ype

Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพผ่าน LINE Mini App เเละจัดหาตัวแทนไปรับยาร้านขายยามาตรฐานเพื่อนำไปส่งให้ที่บ้านของคุณได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล

คลิกเพื่อใช้บริการ >> MedCare ปรึกษาเภสัชกรทันที รับยาดีทันใจ