Latest Articles

ยาคุมมีกี่แบบ ใช้อย่างไร รวม 10 เรื่องต้องรู้ก่อนใช้ยาคุม

การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้หากไม่มีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้ถุงยางอนามัย ฉีดยาคุมกำเนิด หรือเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

แต่ก่อนจะเริ่มใช้ยาคุม คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยา ตั้งแต่ประเภทของยาคุม ประโยชน์ ผลข้างเคียง และข้อควรระวัง เพื่อให้สามารถใช้งานยาเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย

ยาคุมกำเนิดมีกี่แบบ ?

ยาคุม ฝังดูเผินๆ อาจเป็นยาที่เรารู้จักกันดี เพราะยาคุมคือยาที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดไม่ให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเราจำเป็นต้องเลือกประเภทยาคุมที่เหมาะสมกับร่างกายและวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยในปัจจุบันยาคุมกำเนิดมีการแบ่งออกด้วยกัน 3 แบบใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด

1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสติน (Progestin) มีให้เลือกทั้งยาคุม 21 และยาคุม 28 เม็ดต่อแผง ยาคุมแบบฮอร์โมนรวมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ

  • Monophasic COC ประกอบด้วยปริมาณฮอร์โมนเท่ากันในทุกๆ เม็ด มีให้เลือกซื้อทั้งประเภท High Dose และ Low Dose
  • Multiphasic COC ประกอบด้วยปริมาณฮอร์โมนที่แตกต่างกันในแต่ละเม็ด

2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

ยามคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโพรเจสติน (Progestin) เพียงอย่างเดียว ยาคุมประเภทนี้มีถูกผลิตเพื่อลดผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยในยาคุม 1 แผงมีจำนวนยาทั้งหมด 28 เม็ด มักถูกใช้ในผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ผู้หญิงให้นมบุตร หรือผู้ป่วยหลอดเลือดอุดตัน

3. ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนในปริมาณสูง ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบ หรือมีเลือดออกกระปริบกระปรอยได้ เราจึงควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเมื่อจำเป็นจริงๆ เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด แตก หรือรั่ว เท่านั้น หากต้องการป้องกันการตั้งครรภ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ยาคุมประเภทอื่นๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

รวม 10 เรื่องต้องรู้ก่อนใช้ยาคุมอย่างถูกวิธี

หลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็น วิธีการกินยาคุม การออกฤทธิ์ ประโยชน์ ผลข้างเคียง หรือข้อควรระวังในการรับประทานยาคุมกำเนิด และนี่คือ 10 ข้อต้องรู้ก่อนรับประทานยาคุมกำเนิด เพื่อให้เราสามารถใช้งานยาคุมอย่างปลอดภัย

1. ยาคุมกำเนิดแต่ละแบบมีการกินที่แตกต่างกัน

ด้วยส่วนประกอบของยาคุมแต่ละแบบที่แตกต่างกันตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้การรับประทานยาคุมแต่ละประเภทจึงมีความแตกต่างกันไป ดังนี้

ยาคุมฮอร์โมนรวม เริ่มกินในวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน

  • แบบ 28 เม็ด แบ่งเป็นยาจริง 21 เม็ดและยาหลอก 7 เม็ด สามารถเริ่มยาแผงใหม่ได้ทันทีเมื่อยาคุมหมดแผง
  • แบบ 21 เม็ด เมื่อยาหมดแผงจำเป็นต้องละเว้นทั้งหมด 7 วัน ก่อนเริ่มรับประทานยาแผงใหม่

ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว เริ่มกินวันแรกของการมีประจำเดือน

  • แบบ 28 เม็ด กินต่อเนื่องทุกวันในเวลาเดิม และห่างกันได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
  • แบบ 24 เม็ด และเม็ดหลอก 4 เม็ด

2. การออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด

หากคุณกินยาคุมภายใน 3 วันแรกของการมีประจำเดือน ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดจะเริ่มออกฤทธิ์ได้หลังจากรับประทาน 1 สัปดาห์ โดยยาคุมจะมีผลในการยับยั้งปัจจัยต่างๆ ของการตั้งครรภ์ เช่น

  • ทำให้ผนังมดลูกบางลงและตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้
  • ทำให้ร่างกายไข่ตกและยับยั้งกระบวนการก่อนปฏิสนธิ
  • ท่อนำไข่มีการเคลื่อนไหวจนตัวอ่อนที่ถูกผสมแล้วไม่สามารถฝังตัวได้
  • ปากมดลูกเหนียวข้นจากเมือกจนอสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปได้
รับประทาน ยาคุม

3. ประโยชน์ของยาคุม

นอกจากการคุมกำเนิดแล้ว การรับประทานยาคุมยังช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกายด้านต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • ลดสิว
  • บรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ขณะมีประจำเดือน
  • แก้ไขอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • รักษาปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่
  • รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกโพรงมดลูก
  • หากใช้ต่อเนื่องกันหลายปี ลดความเสี่ยงมะเร็งบางชนิด

4. ผลข้างเคียงของยาคุม

ในทางกลับกัน การใช้ยาคุมกำเนิดก็อาจส่งผลให้ร่างกายมีผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ เช่นกัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายหลังรับประทานยาคุมไปแล้ว 2-3 เดือน ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • หลอดเลือดอุดตัน
  • คัดตึงเต้านม
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • ปวดหัว
  • อารมณ์แปรปรวน

5. เราต้องกินยาคุมในเวลาเดิมของทุกวัน

ผู้ใช้ยาคุมจำเป็นต้องมีระเบียบวินัยในการรับประทานยาเวลาเดินในทุกๆ วัน โดยที่ไม่ควรห่างจากเวลาเดิมเกิน 3 ชั่วโมงและกินเม็ดต่อไปในเวลาเดิม เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์นั่นเอง

6. ยาคุมไม่ช่วยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การรับประทานยาคุมกำเนิดไม่ได้ช่วยให้คุณสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคเริม โรค HIV เชื้อ HPV โรคหนองใน หรือโรคอื่นๆ ดังนั้นเราจึงควรสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

7. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

เนื่องจากการออกฤทธิ์และส่วนประกอบของยาคุมฉุกเฉินที่มีน้อยกว่ายาคุมทั่วไป ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจึงต่ำกว่า ดังนั้นเราจึงควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเพียงกรณีที่จำเป็นเท่านั้น โดยยาคุมฉุกเฉิน 1 แผงจะมียาทั้งหมด 2 เม็ด ผู้ใช้ต้องกินยาคุมเม็ดแรกทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่ 2 หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง

ยาคุมแบบฉุกเฉิน

8. ยาคุมไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง

หลายคนอาจมีความเชื่อว่า การรับประทานยาคุมอาจส่งผลให้ผู้หญิงกลายเป็นโรคมะเร็งในอนาคตได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยาคุมกำเนิดไม่ได้มีผลทำให้เราเป็นโรคมะเร็ง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่ ไม่ควรรับประทานยาคุม เพราะอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

9. ควรดูวันหมดอายุก่อนใช้ยา

เช่นเดียวกับการใช้ยาประเภทอื่นๆ เราควรอ่านวันหมดอายุของยาคุมแต่ละแผงให้ดีก่อนเริ่มใช้ยา เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการคุมกำเนิด

10. ข้อควรระวังในการใช้ยาคุมกำเนิด

ข้อควรระวังและข้อห้ามบางอย่างในการรับประทานยาคุม แบ่งเป็น

  • งดสูบบุหรี่ระหว่างการใช้ยาคุมกำเนิด เพราะเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • หมั่นสังเกตอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาเจียน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายดูดซึมยาน้อยลง
  • สตรีให้นมบุตรควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคดังต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิด

  • ผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันไม่ควรกินยาเม็ดคุมฮอร์โมนรวม
  • ผู้ป่วยมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีอาการไมเกรนรุนแรง
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดและยังไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ป่วยโรคตับ

สรุป

ยาคุมกำเนิดเป็นหนึ่งตัวช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงหลายคน เราควรศึกษาถึงวิธีการรับประทานยาคุม ประโยชน์ ผลข้างเคียง และข้อห้ามระหว่างการใช้งาน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่เราก็ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงน้อยที่สุดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

และสำหรับใครที่ต้องการยาหรือสิ่งของในร้านขายยา ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้แพ้ ยาพาราเซตามอล ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย หรืออื่นๆ แต่ไม่มีเวลาเดินทางไปซื้อด้วยตัวเองเภสัชกร MedCare ยินดีให้คำปรึกษาและเรามีบริการจัดหายาจากร้านขายยาใกล้บ้านภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์