ยาสอด คือยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการป่วยบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย ผ่านการสอดใส่เข้าไปยังภายในบริเวณนั้น ๆ ด้วยรูปแบบการใช้งานที่สัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรงทำให้ยาสอดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาค่อนข้างสูง และมักถูกใช้เมื่อไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานหรือทายา
ซึ่งเราควรศึกษาถึงประเภทของยา วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ข้อควรระวัง ข้อดี และผลกระทบของการใช้ยาสอด เพื่อความปลอดภัยเมื่อตัดสินใจใช้ยา
ประเภทและวิธีใช้งานยาสอดอย่างถูกต้อง
เนื่องจากยาสอดแบ่งเป็นหลากหลายประเภท การใช้งานยาสอดแต่ละแบบจึงมีวิธีการที่แตกต่างกัน และเราควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ยาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันผลข้างเคียงที่อาจตามมาหลังการใช้งานยาสอด
ยาสอดช่องคลอด
ยาสอดช่องคลอด (Vaginal Suppositories) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ยาเหน็บช่องคลอด ลักษณะของยาเป็นวงรีคล้ายรูปไข่ มักนิยมใช้รักษาอาการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด เช่น ภาวะช่องคลอดแห้ง เชื้อราในช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ตกขาวมีกลิ่น คัน หรือใช้งานสำหรับคุมกำเนิดก็ได้เช่นกัน โดยมีวิธีใช้งานดังนี้
1.ล้างมือและทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยสบู่อ่อน ซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู
2.แกะเม็ดยาจุ่มเม็ดยาในน้ำสะอาด 1–2 วินาที เพื่อให้เพิ่มความลื่นให้เม็ดยาสามารถสอดใส่ช่องคลอดได้ง่ายขึ้น
3.จัดท่าทางให้สบายตัว
4.สอดยาเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะทางหรือมือ ให้ยาเข้าไปในช่องคลอด
5.นอนค้างท่าเดิมประมาณ 15 นาที เพื่อป้องกันยาไหลออกมา
6.ล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค
ยาสอดทวารหนัก
ยาสอดทวารหนัก (Rectal Suppositories) มีลักษณะคล้ายลูกกระสุน นิยมใช้งานเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ท้องผูก และคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น โดยมีวิธีใช้งานดังนี้
1.ขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนใช้ยาสอด
2.ตรวจสอบยา โดยควรมีลักษณะแข็ง อาจนำซองยาเข้าแช่เย็นก่อนใช้งาน
3.ล้างมือและทวารหนักให้สะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู
4.ชโลมเจลหล่อลื่นหรือน้ำเล็กน้อยบนยาสอด
5.จัดท่าทางให้สบายตัวและสะดวกต่อการใช้งานยาสอด
6.ค่อย ๆ สอดยาเข้าไปในรูทวารหนักลึก 0.5-1 นิ้วสำหรับผู้ใหญ่ และ 0.5 นิ้วสำหรับทารก
7.นอนค้างท่าเดิมประมาณ 15 นาที เพื่อป้องกันยาไหลออกมา
8.ล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค
ยาสอดท่อปัสสาวะ
ยาสอดท่อปัสสาวะ (Urethral Suppositories) ในประเทศไทยไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก มักถูกใช้ในการรักษาปัญหาสมรรถภาพทางเพศของเพศชาย โดยมีวิธีใช้งานดังนี้
1.ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนใช้ยาสอด
2.ล้างมือและทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยสบู่อ่อน ซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู
3.จับอวัยวะเพศชายให้ยืดตรง เพื่อเปิดท่อปัสสาวะ
4.ใส่อุปกรณ์ช่วยสอดยา
5.สอดปลายแท่งยาสอดเข้าไปและข้างไว้ 5 วินาที
6.สะบัดแท่งยาสอด เพื่อให้ยาเข้าไปยังท่อปัสสาวะมากที่สุด
7.นำแท่งยาสอดออกและนวดอวัยวะเพศเบา ๆ เพื่อเพิ่มการดูดซึมของยา
ข้อดีและผลข้างเคียงของการใช้ยาสอด
ยาสอดคือยาประเภทหนึ่ง ที่มีทั้งข้อดีและผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาทั่วไป ดังนั้นเราจึงควรศึกษาและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจใช้
ข้อดี
- ออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว เพราะตัวยาถูกดูดซึมง่ายและเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
- มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก และระบบสืบพันธุ์เพศชาย
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาได้
ข้อเสียและผลข้างเคียง
- ใช้งานหลายขั้นตอน ทำให้อาจไม่สะดวกสักเท่าไรนัก
- เมื่อยาสอดละลายจนหมด อาจทำให้เปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้
- อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก และท่อปัสสาวะ
- ยาสอดช่องคลอดอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้งานบางคนเช่น คันหรือแสบบริเวณช่องคลอด
- ยาสอดทวารหนักอาจทำให้ปวดเกร็งท้อง อึดอัดท้อง หรือมีปัญหาช่องท้องอื่น ๆ
- ยาสอดท่อปัสสาวะ ผู้ใช้อาจรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกบริเวณอวัยวะเพศ
ข้อควรระวังในการใช้ยาสอด
- ควรใช้งานก่อนเข้านอนเพราะยาสอดสามารถรั่วซึมได้ถ้าหากมีการเคลื่อนไหวเยอะ
- สามารถใช้งานยาสอดได้ในระหว่างที่เป็นประจำเดือน แต่ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะอาจทำให้ยาถูกดูดซึมออก
- สำหรับยาสอดช่องคลอด ไม่ควรใช้ปิโตรเลียมเจลหรือเจลหล่อลื่นช่วยสอดยา เพราะจะทำให้ยาไม่ละลาย ควรใช้น้ำสะอาดเท่านั้น
- หากลืมสอดยาในวันนั้น ห้ามเพิ่มขนาดยาในต่อไป และให้ข้ามการใช้ยาครั้งนั้นไป
- ใช้ยาสอดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำการรักษาหรือจนกว่ายาจะหมดแผง
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการใช้งานยาสอด
- สำหรับการใช้ยาสอดเพื่อคุมกำเนิด ควรใช้งานก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 10-15 นาที
- เก็บยาในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการเก็บยาในอุณหภูมิสูง เพื่อป้องกันยาละลาย
ความผิดปกติหลังใช้ยาสอดที่ควรพบแพทย์
หากคุณมีอาการผิดปกติเหล่านี้ระหว่างหรือหลังการใช้งานยาสอด ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
- ปวดบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะยากลำบาก
- อวัยวะเพศมีรอยแดง ระคายเคือง หรือบวม
- มีไข้สูง หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- เลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ
- เกิดแผลพุพองหรือแผลในช่องคลอด
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
สรุป
ยาสอด เป็นอีกหนึ่งยาสำหรับการรักษาอาการบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก และท่อปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง เพราะตัวยาดังกล่าวจะละลายและดูดซึมลงช่องคลอดอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ควรศึกษาถึงข้อดี ข้อเสีย ผลข้างเคียง และวิธีการใช้งานยาสอดที่ถูกต้อง เพื่อทำให้ยาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่ต้องการยาสอด เพื่อรักษาอาการป่วยต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานยาหลากหลายประเภท เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ท้องเสีย ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ หรือเวชภัณฑ์ยา แต่ไม่มีเวลาเดินทางไปซื้อยาด้วยตนเอง สามารถเข้ามาใช้บริการ MedCare เพื่อปรึกษาการใช้ยา และจัดหายาจากร้านขายยาใกล้บ้านเพื่อส่งถึงมือคุณภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/