Latest Articles

ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีป้องกันระยะยาว

ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ

ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ มีมากกว่าที่คุณคิด และการเลือกนั้นควรเลือกอย่างเหมาะสม

อาการคัน ผื่นแดง หรือลมพิษ (Urticaria) เป็นโรคที่นอกจากจะสร้างความน่ารำคาญใจแล้ว ยังอาจทำให้เกิดความอันตรายได้ไม่น้อยหากผู้ป่วยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง โรคลมพิษมีลักษณะอาการคือ ผิวหนังมีผื่นแดงนูนขึ้น พร้อมกับอาการคันระคายเคืองบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ โดยพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปีเป็นส่วนมาก และอาการดังกล่าวมักหายไปภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งการรับประทานยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ คือวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

ปัจจุบันยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ แบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเราจึงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับยาแต่ละประเภทว่ามีสรรพคุณ วิธีใช้ และข้อควรระวังอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ป่วยลมพิษ

หากตอนนี้ท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการผื่นแดง ลมพิษ ต้องการยาแก้แพ้หรือเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สามารถปรึกษาเภสัชกรคุณภาพของเรา Medcare ได้ด้วยการแอด LINE Medcare 

อาการผื่นแดงบนผิวหนัง

ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ มีแบบไหนบ้าง ?

เมื่อคุณมีอาการผื่นคัน ลมพิษ และเดินทางไปยังสถานพยาบาล แพทย์จะทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เพื่อจัดหายาสำหรับรักษาอาการดังกล่าวอย่างเหมาะสม โดยยาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine)

ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่ายาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ ช่วยบรรเทาอาการแพ้ชนิดไม่รุนแรง โดยแบ่งเป็น 2 ปรเะภท ได้แก่ ชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม และชนิดที่ไม่มีอาการง่วงซึม

สรรพคุณ

ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ ชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการแพ้ชนิดไม่รุนแรง โดยอาการที่สามารถบรรเทาได้ เช่น

  • ผื่นแดง ลมพิษ คันระคายเคือง ผิวหนังบวมแดง
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
  • ตาแดง คันตา มีน้ำตาไหล เปลือกตาบวม
  • เจ็บคอ คอแห้ง ไอ

วิธีใช้งานและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่ายาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ กลุ่มยาต้านฮีสตามีนจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คุณก็ควรศึกษาถึงข้อควรระวังและวิธีการใช้งานอย่างเหมาะสม ดังนี้

  • แจ้งถึงประวัติการแพ้ยาและอาการหลังรับประทานยา ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญได้ทราบ
  • หากมีโรคประจำตัว ควรแจ้งผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้งานยา
  • แจ้งยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่ใช้ขณะนั้นแก่แพทย์และเภสัชกร
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้งานยา
  • อ่านฉลาก สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับการใช้งานยาอย่างถูกต้อง
  • รับประทานห่างกัน 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเภท และปริมาณของยาแต่ละชนิด
  • ไม่รับประทานยาร่วมกับการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาต้านเศร้า ยาโรคกระเพาะ และยารักษาอาการอาหารไม่ย่อย รวมถึงยาแก้ไอและยาแก้หวัดบางแบรนด์
ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ

2.ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids)

ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) หรือยาสเตียรอยด์ คือยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ทำให้สามารถนำไปใช้กับการรักษาโรคต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น อาการอวัยวะอักเสบ โรคหอบหืด โรคลูปัส โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง รวมไปถึงโรคผื่นคัน ลมพิษจากภูมิแพ้ โดยตัวยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษชนิดนี้มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ทั้งรับประทาน ทา ฉีด และพ่น

สรรพคุณ

ยาสเตียรอยด์มีสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษาอาการทางผิวหนัง และอวัยวะต่าง ๆ ได้เช่น

  • อาการสมองบวมจากเนื้องอกสมอง
  • ผิวหนังแพ้ อักเสบ บวม แดง
  • อาการปวดหรืออาการอักเสบบริเวณข้อกระดูก
  • อาการโรคหืด หรือแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
  • ระบบขับถ่ายอักเสบ เช่น ริดสีดวงทวาร
  • ภาวะเกลือโซเดียมมากผิดปกติ
  • อาการบวมที่ไม่ได้เกิดจากการบวมน้ำ

วิธีใช้งานและข้อควรระวัง

เราควรศึกษาถึงวิธีการใช้งานและข้อควรระวัง ก่อนใช้ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ ชนิดยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ ดังนี้

  • แจ้งประวัติการแพ้ยาพร้อมอาการหลังรับประทานยาที่แพ้
  • แจ้งประวัติโรคประจำตัวต่อแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ
  • แจ้งยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังรับประทานอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือส่งผลต่อยาที่รับประทาน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
  • ไม่ควรใช้ยาร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ มีแผลในช่องทางเดินอาหาร มีภาวะอารมณ์แปรปรวน มีปัญหาด้านพฤติกรรม หรือมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ หรือโรคเบาหวาน

3.คาลาไมน์โลชั่น (calamine lotion)

คาลาไมน์โลชั่น (calamine lotion) คือยารูปแบบทาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองจากผื่นคัน ลมพิษได้เป็นอย่างดี เพราะตัวยามีส่วนผสมของซิงค์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) เพื่อช่วยปกป้องผิวหนังและสมานแผล ผ่านการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

สรรพคุณ

ยาคาลาไมน์โลชั่น มีคุณสมบัติที่ช่วยบรรเทาอาการบนผิวหนัง โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ได้แก่

  • อาการคัน ปวด ไม่สบายผิว หรือระคายเคืองผิวหนัง
  • สมานแผลให้หายดีขึ้น
  • ปกป้องผิวหนังหลังเมื่อได้รับความร้อนและความชื้น
  • ยับยั้งเชื้อโรคและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางผิวหนังในเบื้องต้น

วิธีใช้งานและข้อควรระวัง

ยาคาลาไมน์โลชั่น มีวิธีการใช้งานและข้อควรระวัง ดังนี้

  • ทายาบนผิวหนังบาง ๆ จำนวน 2-3 ครั้งใน 1 วัน
  • แจ้งประวัติการแพ้ยาพร้อมอาการ เพื่อให้แพทย์และเภสัชกรเลือกยาที่เหมาะสม
  • ห้ามรับประทานยาคาลาไมน์โลชั่นเด็ดขาด เพราะเป็นยาสำหรับใช้ภายนอกเท่านั้น
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยา
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยารอบดวงตา ปาก จมูก ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ เพื่อป้องกันอันตราย
ยาคาลาไมน์โลชั่น

ผื่นคัน ลมพิษ เกิดจากสาเหตุอะไร ? รู้จักโรคก่อนใช้ยา

โรคผื่นคัน ลมพิษสามารถเกิดขึ้นจากเมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่างที่มีผลต่อปฏิกิริยาการแพ้ หลังจากนั้นร่างกายของมนุษย์จะปล่อยสาร “ฮีสตามีน (Histamine)” และสารอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือด จนทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว มีพลาสมาซึมออกมา และทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมักมีปฏิกิริยาการแพ้ แบ่งเป็น 8 ส่วน คือ

1. แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล ผงชูรส นม สารกันบูด สีผสมอาหาร หรืออาหารหมักดอง เป็นต้น
2. แพ้พิษจากแมลง เช่น ผึ้ง ยุง มด ต่อ หรือแตน เป็นต้น
3. แพ้สารสัมผัส เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี ขนสัตว์ น้ำยาย้อมผม หรือเครื่องสำอาง เป็นต้น
4. แพ้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคไทรอยด์ หรือยารักษาวัณโรค เป็นต้น
5. ติดเชื้อ เช่น เชื้อโรค แบคทีเรีย หรือไวรัส เป็นต้น
6. ระบบต่อมไร้ท่อมีปัญหา เช่น โรคต่อมไทรอยด์
7. โรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง หรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น
8. ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง ทำให้ผิวหนังหลังสารเคมีบางอย่างออกมาและทำให้มีผื่นคัน ลมพิษเกิดขึ้น

ประเภทของโรคผื่นคัน ลมพิษ

โรคผื่นคัน ลมพิษ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1. ชนิดเฉียบพลัน มีระยะเวลาการเกิดอาการต่อเนื่องประมาณ 6 สัปดาห์และค่อย ๆ หายไป มักเกิดจากการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือแพ้แมลงกัดต่อย อาจมีอาการทางกายภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย
2. ชนิดเรื้อรัง มีอาการแดงคันอย่างเรื้อรังอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันมากกว่า 6 สัปดาห์ อาจเกิดจากการแพ้อากาศ แสงแดด ความร้อน หรือในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงได้

วิธีบรรเทาอาการคัน เมื่อเป็นลมพิษ

นอกจากการใช้ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เมื่อคุณมีอาการคันระคายเคืองบริเวณผิวหนัง คุณควรปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้ เพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้น

1. ไม่เกาผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เกิดผื่นคันและลมพิษ เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อเพิ่มเติม
2. ใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของเมนทอลเพื่อบรรเทาอาการคันในเบื้องต้น
3. ใช้ยาต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ อย่างระมัดระวัง
4. ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการคันระคายเคือง
5. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรืออุ่น เพราะอาจทำให้ผิวหนังแห้งและคัน
6. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำเกลือและเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการอับชื้น

วิธีป้องกันอาการผื่นคัน ลมพิษ ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

การป้องกันอาการผื่นคัน ลมพิษ สามารถทำได้อย่างง่ายดายเมื่อเปรียบเปรียบกับการบรรเทาอาการ  ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ เช่น อาหารบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ แมลง สารเคมี หรือขนสัตว์
2. ทำความสะอาดแหล่งสะสมของฝุ่น เช่น ที่นอน หมอน หรือผ้าห่ม
3. ไม่ใช้สบู่ หรือครีม ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
4. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะร่างกายภูมิต้านทานต่ำ
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

สรุป

อาการคันระคายเคืองจากภาวะ ลมพิษ เป็นอาการที่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนี่เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายของเราอ่อนแอลง และอาจส่งผลต่อชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อคุณมีภาวะดังกล่าวนี้ สามารถใช้ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่หากว่ามีอาการอื่น ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ หรือ ท้องเสีย คุณควรรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริง

สำหรับใครที่ต้องการยาสามัญประจำบ้าน หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสุขอนามัย เช่น แอลกอฮอล์ ถุงยางอนามัย หน้ากากอนามัย แต่ไม่สะดวกเดินทางไปยังร้านขายยาด้วยตนเอง MedCare มีบริการ ปรึกษา ให้คำแนะนำ และจัดหายาจากร้านขายยาใกล้บ้านภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแค่คุณแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์