Latest Articles

ยาพ่นจมูกสำหรับไซนัสอักเสบ ควรเลือกแบบไหนดี

ยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบคืออะไร ? ทำไมการเลือกยาพ่นจมูกที่เหมาะสมจึงสำคัญสำหรับอาการป่วยที่สามารถพบได้ทั่วไปมากขนาดนี้

ไซนัสอักเสบ คืออาการที่เกิดจากการบวมของไซนัส ซึ่งเป็นโพรงอากาศที่อยู่ในกะโหลกศีรษะบนใบหน้ารอบๆ จมูก โดยอาการจะกำเริบเมื่อผู้ป่วยเป็นหวัด ภูมิแพ้ หรือติดเชื้อที่บริเวณรากฟัน จนสะสมเชื้อโรคและเกิดเป็นหนอง ทำให้มีอาการต่างๆ เช่น ปวดตามจุดไซนัส ปวดศีรษะ น้ำมูกเป็นหนอง คัดแน่นจมูก และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถรักษาด้วยยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบ แทนการรักษาด้วยยารับประทาน เพราะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า และยังช่วยลดการอักเสบในจมูกได้ดีอีกด้วย

ในบทความนี้จะพาคุณไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ วิธีการทำงานของยาพ่นจมูก และเคล็ดลับการเลือกยาพ่นจมูกสำหรับไซนัสอักเสบให้ถูกต้องเพื่อรักษาอาการปวดไซนัส

ยาพ่นจมูก ไซนัสอักเสบ บริเวณที่ปวด

ไซนัสอักเสบ ควรใช้ยาพ่นจมูกแบบไหน

ถึงแม้ว่ายาพ่นจมูกจะแบ่งออกเป็นหลากหลายชนิด แต่สำหรับผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ยาที่เหมาะสมคือยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ เพราะสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบและรักษาอาการไซนัสอักเสบได้ดีที่สุด โดยปัจจุบันยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบสามารถใช้ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. ใช้พ่นจมูกโดยตรง

ยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบรูปแบบนี้สามารถใช้พ่นจมูกได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องผสมส่วนผสมอื่นๆ แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างจมูกให้สะอาด หรือสั่งน้ำมูกก่อนเพื่อให้ยาสามารถเข้าไปยังบริเวณโพรงจมูกได้มากที่สุด หลังจากนั้นจึงเขย่าขวด ตั้งขวดยาให้ตรง ระวังไม่ให้ยาสัมผัสปีกจมูก แล้วฉีดยาพ่นเข้าไป

ซึ่งยาสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ขวดแบบกดด้านบน
  • ยากดด้านข้าง
  1. ใช้ผสมน้ำเกลือเพื่อล้างจมูก

ถ้าหากต้องการให้ยาพ่นจมูกกระจายตัวภายในโพรงจมูกได้ดียิ่งขึ้น แพทย์จะสั่งยารูปแบบที่จำเป็นต้องผสมน้ำเกลือ โดยเริ่มการเติมน้ำเกลือลงในแก้วที่เตรียมไว้ คว่ำแก้วให้ครอบยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบ พ่นยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง หลังจากนั้นจึงหงายภาชนะขึ้น เติมน้ำเกลือและผสมให้เข้ากัน เพื่อล้างจมูก

นอกจากการใช้ยาพ่นจมูกแล้ว แพทย์อาจมีการจ่ายยาต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคนด้วยเช่นกัน 

การทำงานของยาพ่นจมูก ไซนัสอักเสบ

เมื่อผู้ป่วยทำการพ่นยาเข้าไปแล้ว ยาสเตียรอยด์จะผ่านเข้าไปสู่ในเซลล์และไปจับกับตัวรับสเตียรอยด์ เพื่อควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน โดยยับยั้งเซลล์ การสร้าง และการหลั่งสารเคมี ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบทั้งหมด ทำให้สามารถลดปริมาณของเซลล์ที่เกี่ยวกับการอักเสบของเยื่อบุจมูก และช่วยยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบภูมิแพ้ ทั้งระยะแรก (early-phase reaction) ระยะหลัง (late-phase reaction) และปฏิกิริยาที่เยื่อบุจมูกมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น (nasal hyperresponsiveness) มากกว่าปกติ

วิธีการใช้ ยาพ่นจมูก ไซนัสอักเสบ

เลือกยาพ่นจมูก ไซนัสอักเสบจากอะไรดี

ยาพ่นจมูกแต่ละแบรนด์และรุ่นมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเลือกยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบ ให้เหมาะสมกับร่างกายและการใช้งาน โดยใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อตัดสินใจ

1. ราคา

ราคาของยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบมีความแตกต่างกันตาม แบรนด์ รุ่น และประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ป่วยไม่ควรเลือกยาที่แพงจนเกินไปถ้าหากยาพ่นจมูกเหล่านี้สามารถรักษาอาการไซนัสอักเสบได้ไม่ต่างกัน

2. ความปลอดภัย

เนื่องจากยาพ่นจมูกสเตียรอยด์บางชนิดอาจดูดซึมเข้าไปยังกระแสเลือดได้มาก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีความพิเศษ โดยแบ่งเป็นข้อต่างๆ ได้แก่

  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ยาพ่นจมูกที่สามารถใช้ได้คือ ยา Budesonide ซึ่งจะไม่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อน
  • หญิงให้นมบุตร ควรใช้ยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบด้วยความระมัดระวัง เพราะปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยว่า ยาเหล่านี้ถูกขับออกทางน้ำนมหรือไม่
  • ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคตับและโรคไต สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยเพราะยาเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดในระดับต่ำ

3. ประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพที่กล่าวถึงของยาพ่นจมูก นอกจากหมายถึงความสามารถของยาสเตียรอยด์แต่ละชนิดแล้ว ยังรวมไปถึงระยะเวลาที่ยาสามารถกระจายตัว และการออกฤทธิ์อีกด้วย ดังนั้นคุณจึงควรเลือกใช้ยาที่สามารถกระจายตัวได้เป็นอย่างดี และออกฤทธิ์ในระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน เพื่อให้สามารถรักษาอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

สรุป

อาการไซนัสอักเสบสามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองด้วยการใช้ยาพ่นจมูกไซนัสอักเสบ หรือยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ โดยควรเลือกยาที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพดี เพื่อบรรเทาอาการไซนัสอักเสบ

ถ้าหากคุณต้องการตัวช่วยหรือไม่แน่ใจถึงการเลือกซื้อยาที่ถูกต้อง Medcare ยินดีให้คำปรึกษาพร้อมเป็นตัวกลางในการจัดหายาจากร้านยาใกล้บ้านเพื่อให้คุณได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแค่แอด LINE https://liff.line.me/1656211307-YZBwnXVm หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://medcare.asia/ 

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์