Latest Articles

เบาหวานมีอาการแบบไหน รวมวิธีสังเกตพร้อมรับมือเบาหวาน

เบาหวาน อาการ

เมื่อกล่าวถึง โรคเบาหวาน หลายคนคงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเบาหวานเป็นอาการเจ็บป่วยที่สามารถพบได้บ่อยในประชาชนชาวไทย โดยโรคเบาหวานเป็นอาการผิดปกติในการทำงานของฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงที่กว่าปกติจนไตไม่สามารถดูดกลับน้ำตาลได้หมด ทำให้การขับถ่ายของผู้ป่วยมีน้ำตาลผสมออกมาด้วย

เบาหวาน อาการ กระหายน้ำ

สัญญาณเตือนโรคเบาหวาน อาการเป็นอย่างไร ?

ถ้าหากคุณเป็นโรคเบาหวาน อาการเริ่มต้นของโรคที่สามารถสังเกตได้ง่าย แบ่งเป็นสัญญาณเตือนทั้งหมด 7 ข้อ คือ

  • ปัสสาวะบ่อย เพราะการปัสสาวะคือกระบวนการกรองน้ำตาลในเลือดรูปแบบหนึ่ง ยิ่งผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งปัสสาวะบ่อยมากเท่านั้น
  • คอแห้ง กระหายน้ำ เป็นภาวะที่เกิดจากการปัสสาวะบ่อย จนร่างกายขาดน้ำ
  • หิวบ่อย กินจุ เกิดจากการสูญเสียพลังงานที่มาจากการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
  • น้ำหนักลด เมื่อพลังงานไม่เพียงพอ ร่างกายจึงดึงมวลกล้ามเนื้อและร่างกายของผู้ป่วยมากใช้งาน จนผู้ป่วยโรคเบาหวานน้ำหนักลดลง
  • ตามัว เนื่องจากน้ำตาลในเลือดเข้ามาสู่ในเลนส์ตาและหลอดเลือดในจอประสาทตา จนหลอดเลือดเกิดการโป่งพองในที่สุด
  • ชาปลายมือ ปลายเท้า เกิดจากความเสียหายของปลายเส้นประสาทส่วนมือและเท้า
  • เป็นแผลง่าย หายยาก มีผลจากการไหลเวียนเลือดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้แผลซ่อมแซมได้ช้าลง

โดยโรคเบาหวานสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ผู้ป่วยขาดอินซูลิน
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินและสร้างอินซูลินได้น้อยลง
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในผู้หญิงตั้งครรภ์ และหายไปหลังคลอด แต่อาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรือการรับประทานยาที่มีสารสเตียรอยด์

ภาวะแรกซ้อนในโรคเบาหวาน

เนื่องจากเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะอักเสบ และภาวะหลอดเลือดอุดตัน ทำให้เกิดการติดเชื้อง่าย ระบบร่างกายต่างๆ ของผู้ป่วยจึงมีผลกระทบกับ 6 ส่วนดังต่อไปนี้ 

ทางตา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาวะเบาหวานขึ้นตา เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเรื้อรัง จนเกิดจอประสาทเสื่อม จอประสาทตาลอก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้ตาบอดได้ รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการต้อกระจกหรือต้อหินได้เช่นเดียวกัน

ทางไต

โรคเบาหวานทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดสูง แรงดันในไตจึงสูงขึ้นตามมาเช่นกัน โดยที่ในผู้ป่วยระยะแรกอาจตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ แต่หลังจากนั้นอาจตรวจพบโปรตีนไข่ขาวผสมในปัสสาวะมากขึ้นเรื่อยๆ 

ภาวะดังกล่าวนี้ส่งผลให้การทำงานของไตมีประสิทธิภาพลดลง และผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างไตในที่สุด

เบาหวาน อาการ ชาปลายเท้า

ทางเส้นประสาท

ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอาการชาปลายมือและปลายเท้า เจ็บแปลบเหมือนโดนเข็มแหลม ๆ ทิ่ม แสบร้อนบริเวณปลายมือและปลายเท้าเท้า รวมไปถึงอาจทำให้เหงื่อไม่ออกหรือออกง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กลืนสำลัก ท้องอืดง่าย และจุกแน่นลิ้นปี่ได้

เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน

เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน เป็นอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานมักพบเจอ โดยเฉพาะเส้นเลือดใหญ่บริเวณช่วงขา ทำให้ปวดขามากเมื่อเดินหรือวิ่ง และผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นเมื่อพักหรือห้อยขาลงที่ต่ำ 

นอกจากนี้ยังอาจทำให้บริเวณปลายเท้าเย็น ขนขาร่วง ผิวหนังบริเวณขาเงามัน และถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจทำให้อาการหนักขึ้นจนต้องตัดนิ้วเท้าหรือตัดขา

เส้นเลือดหัวใจตีบ

เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่มีความรุนแรงอันตรายถึงชีวิต เพราะเมื่อเส้นเลือดบริเวณหัวใจตีบจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนเกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตเฉียบพลันได้

เส้นเลือดสมองตีบ

เส้นเลือดสมองตีบ คือภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงไม่แพ้เส้นเลือดหัวใจตีบ เพราะสมองคืออวัยวะที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองและเส้นประสาททำงานได้ลดลงหรือหยุดทำงาน จึงส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการชาครึ่งซีก

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ปัจจุบันการตรวจเบาหวานที่ได้รับความนิยมในไทย มีทั้งหมด 3 วิธี คือ

  • ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 8-12 ชั่วโมง ปริมาณน้ำตาลเกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง
  • ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรเป็นต้นไป
  • ตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มโดยไม่ได้งดอาหารที่ให้พลังงาน ปริมาณน้ำตาลเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เมื่อผู้เข้ารับการวินิจฉัยมีอาการเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย เป็นต้น

ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบสามารถบอกถึงภาวะเบาหวาน ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 ภาวะปกติ
  • ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 มีภาวะความเสี่ยง หรือ เบาหวานแฝง
  • ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
เบาหวาน อาการ น้ำหนักลด

วิธีรักษาโรคเบาหวานเบื้องต้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • การควบคุมอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับไม่สูงมาก แบ่งเป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ไม่จำกัด คือ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือไข่ขาว อาหารที่จำกัดปริมาณ คือ ผลไม้บางชนิด และอาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้แปรรูป ของหวาน เป็นต้น
  • การออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นการสร้างอินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน และยกเวท
  • การใช้ยา ผ่านการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจประเมินด้วยสาเหตุ ชนิดของเบาหวาน อาการ หรือความรุนแรงของโรคเบาหวาน

สรุป

เบาหวาน คือโรคร้ายที่คุณควรสังเกตอาการต่างๆ ให้ดี และสามารถป้องกันได้ง่ายๆ เพียงควบคุมการรับประทานอาหารให้มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณกำลังเจ็บป่วยด้วยอาการเบื้องต้นและต้องการยาสำหรับการบรรเทาอาการเบาหวานเบื้องต้นหรืออาการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาพาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ หรือยาต่างๆ ก็สามารถปรึกษากับเภสัชกรใน Medcare ได้เช่นกัน เรายินดีให้บริการพร้อมจัดหายาจากร้านขายยาใกล้บ้านเพื่อส่งถึงคุณใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://medcare.asia/ 

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์