Latest Articles

ความดันสูงควรทำอย่างไร รวมวิธีรับมือภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ความดันสูง ควรทำอย่างไร

ทำไมเราต้องใส่ใจเรื่องความดันสูง แล้วเราควรทำอย่างไร

ความดันโลหิต คือค่าที่เกิดจากการสูบฉีดของเลือดบริเวณหัวใจเพื่อลำเลียงออกซิเจนยังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ แน่นอนว่าค่าความดันเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของเราได้ ไม่ว่าจะในกรณีความดันโลหิตสูง หรือต่ำจนเกินไป

วันนี้เราขอให้ความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงว่า มีสาเหตุจากอะไร และควรดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันแต่ระดับหมายถึงอะไรบ้าง ?

ความดันโลหิตสูง หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘ความดันสูง’ สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตตามโรงพยาบาลหรือคลินิกต่างๆ หากสังเกตจะพบว่าเครื่องเหล่านั้นจะแสดงตัวเลขอยู่สองชุดที่เกิดจากการวัดค่าการบีบและคลายของหัวใจในแต่ละจังหวะ โดยการวัดว่าความดันสูงหรือไม่ อย่างไร สามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้

  1. ความดันโลหิตซีสโตลิก (Systolic) หรือ ความดันโลหิตตัวบน เกิดขึ้นขณะหัวใจบีบตัว หน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท
  • น้อยกว่า 120 ความดันโลหิตปกติ
  • 120-139 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 140 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง
  1. ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic) หรือความดันโลหิตตัวล่าง เกิดขึ้นขณะหัวใจคลายตัว หน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท
  • น้อยกว่า 80 ความดันโลหิตปกติ
  • 80-89 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 90 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง

โดยปกติแล้ว ค่าความดันที่เหมาะสมในคนอายุน้อยกว่า 60 ควรอยู่ประมาณ 140/90 มิลลิเมตรปรอท

สำหรับคนอายุมากกว่า 60 ควรมีค่าความดันน้อยกว่า 150/90 มิลลิเมตรปรอท

ตารางความดันสูง ควรทำอย่างไร

ความดันสูงควรทำอย่างไร ? วิธีดูแลตัวเองเมื่อความดันสูงขึ้น

ความดันสูงเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ พันธุกรรม เชื้อชาติ น้ำหนัก และการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หากคุณมีความดันเลือดผิดปกติอาจหมายถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ที่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคไต 

ความดันสูง ควรทำอย่างไร ? หากพบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงเกินไป คุณควรรักษาสุขภาพให้ดีเพื่อลดความดันให้กลับมาเป็นปกติ ผ่าน 7 วิธี ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักคือสิ่งที่เหมาะกับผู้ป่วยความดันสูงและหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือมีค่า BMI เกิน 25 การลดความอ้วนเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ความดันค่อยๆ กลับมาปกติเช่นเดิมได้ จากการทดลองและวิจัยพบว่า น้ำหนักที่ลดลงทุก 10 กิโลกรัม จะทำให้ความดันจะลดลง 5-20 มิลลิเมตรปรอท เพราะค่าความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำ

สำหรับผู้ที่เริ่มมีภาวะความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายจะช่วยลดค่าความดันให้กลับมาเป็นปกติได้ จากการศึกษาพบว่า การออกกำลังกาย 30 นาที 5 วัน เพียงการว่ายน้ำหรือเดินก็เพียงพอแล้วที่จะลดความดันได้ 5-8 มิลลิเมตรปรอท แต่หากผู้ป่วยมีความดันโลหิตมากกว่า 180/110 ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เลือดสูบฉีดมากเกินไปจนเกิดอันตรายได้ 

**ถ้าระหว่างการออกกำลังผู้ป่วยความดันสูงมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที**

  1. งดสูบบุหรี่

การงดบุหรี่ นอกจากช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี เพราะการสูบบุหรี่มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มความดันโลหิตสูงถึงแม้จะหยุดสูบไปแล้วก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีอายุยืนยาวมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่บ่อยครั้งอีกด้วย

ความดันสูง ควรทำอย่างไร รับประทานผักผลไม้
  1. เลือกสรรอาหาร

อาหาร คือส่วนสำคัญที่ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เราจึงควรเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผู้มีความดันโลหิตสูง ควรรับประทานอาหารเหล่านี้

  • ลดโซเดียม หลีกเลี่ยงอาการที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว และการเติมเครื่องปรุงต่างๆ ควรจำกัดการบริโภคโซเดียมให้ไม่เกินวันละ 1,500 มิลลิกรัม 
  • ข้าว แป้งที่ไม่ขัดสี เพื่อเพิ่มกากใยในร่างกาย เช่น ขนมปังโฮลวีท ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นต้น
  • เนื้อสัตว์​ไขมันต่ำ หรือเลือกรับประทานปลาที่มีโอเมก้า 3 เพื่อช่วยบำรุงการไหลเวียนเลือดแทนเนื้อสัตว์ติดมัน
  • ผักและผลไม้ รับประทานอย่างน้อย 4-5 ทัพพีต่อวัน โดยเฉพาะผักผลไม้สดที่ไม่มีการแปรรูปหรือปรุงแต่ง เพื่อเพิ่มกากใยและแร่ธาตุให้กับร่างกาย
  • ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อัลมอนด์ อะโวคาโด และปลาทะเลน้ำลึก ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา เพื่อกระตุ้นการดูดซึมของวิตามินชนิดละลายไขมัน
  • ถั่ว​และ​ธัญพืชเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ หรือพิสตาชิโอ ในปริมาณที่พอดี ไม่เกินวันละ 2​ ช้อนโต๊ะเพื่อรับไขมันดีจากถั่วและธัญพืช
  • กระเจี๊ยบ​แดง มีส่วนผสมของสาร​แอนโทไซยานิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด และลดความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี
  • ขึ้นฉ่าย เป็นพืชที่มีฤทธิ์ในการลดความดัน​ ขับปัสสาวะ​ ลดบวม ควบคุมน้ำตาล​ ลดไขมัน​และต้านการอักเสบ
  • กระเทียม มีสาร Allicin ช่วยในการลดความดันและไขมันในเลือดได้
  • ตะไคร้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขับลม ขับปัสสาวะ ผ่อนคลาย และลดความดันโลหิต
  • ฟ้าทะลาย​โจร​ มีประโยชน์หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต
  1. ลดความเครียด

รู้หรือไม่ว่า ฮอร์โมนความเครียดมีผลต่อการสูบฉีดเลือดและความดันโลหิต และยังส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ความเครียดทำให้เกิดทั้งอาการนอนไม่หลับ การรับประทานอาหารเยอะ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นผู้ป่วยความดันสูงจึงควรทำตัวเองให้ผ่อนคลายและหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำเพื่อลดความเครียด

  1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลต่อระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นและประสิทธิภาพของยาได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดีจะช่วยลดความดันโลหิตได้

  • ผู้หญิงวันละ 1 ดื่มมาตรฐาน (เบียร์ 350 มิลลิลิตร ไวน์ 150 มิลลิลิตร หรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40% 45 มิลลิลิตร)
  • ผู้ชายวันละ 2 ดื่มมาตรฐาน (เบียร์ 700 มิลลิลิตร ไวน์ 300 มิลลิลิตร หรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40% 90 มิลลิลิตร)
วัดความดันสูง ควรทำอย่างไร
  1. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าหากผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงจนเกินไป การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจไม่เพียงพอ แต่อาจจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาความดันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น

  • ยาขับปัสสาวะ ออกฤทธิ์ขับเกลือที่อยู่ในร่างกายผ่านปัสสาวะ
  • ยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัว หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง
  • ยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดน้อยลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงตาม
  • ยาขยายเส้นเลือดแดง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง

สรุป

ความดันโลหิต คือหนึ่งในสิ่งที่คุณไม่ควรละเลยและควรหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำ เพราะระดับความดันผิดปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บอกถึงโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไต เป็นต้น โดยอาการของผู้มีความดันโลหิตสูง มีทั้งปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ หรือมีอาการคล้าย ไมเกรน

หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ หรือแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog เพื่อปรึกษาเบื้องต้นกับเภสัชกร MedCare และรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้านภายใน 1 ชั่วโมง 

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์