ภูมิแพ้ คืออาการเมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาบางอย่างหลังจากสัมผัสหรือกระทบกับบางสิ่งที่แต่ละคนแพ้ และจากการสำรวจแล้ว ยังเป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยค่อนข้างมาก เพิ่มขึ้นมากถึง 3-4 เท่าภายใน 10 ปี โดยเกิดจากภาวะภูมิไวเกิน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ แตกต่างกันไป ทั้งบนผิวหนัง ทางเดินหายใจ หรือระบบย่อยอาหาร ภูมิแพ้มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นเรื้อรัง มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิต
สาเหตุของโรคภูมิแพ้
จากการสำรวจพบว่า สาเหตุของผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. พันธุกรรม
ถ้าหากสมาชิกในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคแพ้อากาศ และผื่นภูมิแพ้ เด็กที่เกิดมามีโอกาสสูง โดยสำหรับผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคดังกล่าว โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ที่ร้อยละ 30-50 ส่วนผู้ที่มีทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ เด็กมีโอกาสเป็นโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 50-70 ส่วนเด็กที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
แต่สำหรับภูมิแพ้บางชนิด เช่น ลมพิษหรือแพ้จากการสัมผัส พันธุกรรมก็ไม่ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
2. สิ่งแวดล้อม
จากที่กล่าวไปว่า ภูมิแพ้เกิดจากการสัมผัสหรือกระทบ ดังนั้นสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่จึงเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคภูมิแพ้ได้ โดยอาจรับสารได้ด้วยหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร การสูดดม หรือการสัมผัส โดยแบ่งเป็นสารที่สังเกตได้ง่าย และสารที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
อาการของโรคภูมิแพ้
อาการของโรคภูมิแพ้สามารถแบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับบุคคลและสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่
- ผื่นคัน
- ลมพิษ
- น้ำมูก
- จาม
- คันจมูก
- คัดจมูก
- คันตา
- เคืองตา
- แสบตา
- น้ำตาไหลบ่อย
- ไอ
- หอบ
- แน่นหน้าอก
- หายไม่คล่อง
- หายใจแล้วมีเสียงวี้ด
วิธีรับมือกับภูมิแพ้ง่ายๆ ด้วยตนเอง
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรดูแลตนเองเบื้องต้น เพื่อป้องกันอาการกำเริบด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ โดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามอาการ ดังนี้
กลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง
มักมีอาการผิวแห้ง ผื่นแดง และคัน บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการสัมผัสสิ่งที่แพ้หรือ อาจเกิดจากอาหารที่รับประทาน โดยบริเวณที่ผื่นมักเกิดขึ้น คือ แก้ม คอ ข้อพับ แขน ฯลฯ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ด้วยการทำความสะอาดที่นอน น้ำหอม แอลกอฮอล์ การอาบน้ำอุ่น หรือการรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง รวมไปถึงบำรุงผิวหนังด้วยโลชั่นทาผิวให้ชุ่มชื้นเสมอ
กลุ่มภูมิแพ้อากาศ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางอากาศมักมีอาการ ไอ จาม มีน้ำมูก จนส่งผลให้เสียงแหบ หรือเลือดกำเดาไหล อีกทั้งยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ฯลฯ โดยสามารถป้องกันอาการกำเริบด้วยการหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศต่างๆ เช่น ควัน หรือฝุ่น PM2.5 หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
กลุ่มภูมิแพ้อาหาร
ภูมิแพ้อาหารเป็นโรคที่สามารถได้พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก โดยอาหารที่มักมีอาการแพ้คือ นม ไข่ และแป้งสาลี ส่วนในวัยผู้ใหญ่มักพบว่าแพ้อาหารทะเลค่อนข้างมาก โดยกลุ่มการแพ้อาหารมีความอันตรายตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบการแพ้อาหาร และหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ซึ่งหลังจากงดแล้ว คุณควรตรวจสอบการแพ้ใหม่หลัง 4-6 เดือน เพราะอาจหายเป็นปกติได้
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้เริ่มได้ตั้งแต่การสักถามประวัติผู้ป่วย ไปจนถึงการทดสอบโรคภูมิแพ้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแบ่งเป็นส่วน 2 ได้แก่
- ทดสอบทางผิวหนัง การนำสารสกัดที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสร เชื้อรา แมลง และอาหารหยดบนผิวหนัง หลังจากนั้นจึงสะกิดให้ผิวหนัง และรอผลประมาณ 15-20 นาที ถ้าหากผิวหนังมีตุ่มแดงนูนขึ้นมา หมายถึงผู้ป่วยมีอาการแพ้สารนั้นๆ
- การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกันชนิดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด ทั้งสารในอาหาร สิ่งแวดล้อม หรืออาหารที่รับประทาน โดยวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องรอผล 7-14 วัน
การรักษาโรคภูมิแพ้
หลักการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้แล้ว แพทย์จะทำการรักษาโรคด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค คือ
- หลีกเลี่ยงจากสารที่แพ้ เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ เช่น การลดจำนวนไรฝุ่น การหลีกเลี่ยงสัตว์เลี้ยง หรือการเลือกรับประทานอาหาร
- ให้ยาเฉพาะโรค เพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดขึ้น หรือลดการอักเสบ โดยถ้าหากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น แพทย์อาจทำการฉีดสารสกัดครั้งละน้อย หลายครั้ง เพื่อทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น
สรุป
โรคภูมิแพ้คืออาการเจ็บป่วยที่พบได้มากในประเทศไทย ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และการรับสารบางชนิด โดยผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ หรือใช้ยาพ่นจมูก ซึ่งหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป หรือคุณสามารถใช้บริการ Medcare เพื่อให้คำปรึกษาอาการเจ็บป่วยออนไลน์และรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้านใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://liff.line.me/1656211307-YZBwnXVm หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://medcare.asia/