ปวดหัว คลื่นไส้ เป็นอาการทั่วไปที่เราสามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจำ จนผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติสักเท่าไรนัก แต่รู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงต่างๆ หรืออาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ในระยะยาวเลยทีเดียว
ดังนั้นการศึกษาถึงสาเหตุ อาการ และวิธีบรรเทาอาการ ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ จึงช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทัน ลดความเสี่ยง และป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้
ปวดหัว คลื่นไส้เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
อาการปวดหัว คลื่นไส้ อาจบ่งบอกโรคที่คุณคาดไม่ถึงได้ ตั้งแต่โรคที่ไม่ร้ายแรงแต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงโรคที่มีความอันตรายแก่ชีวิต เช่น
- ออฟฟิศซินโดรม
เมื่อกล่าวถึงโรคยอดฮิตที่ผู้คนวัยทำงานรู้จักกันดี ออฟฟิศซินโดรม คงเป็นชื่อที่ใครหลายคนต้องนึกถึง เพราะโรคดังกล่าวมักมีสาเหตุจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน รวมไปถึงการมีอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องต่อสรีระร่างกายมนุษย์ จนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวดกล้ามเนื้อ ชาบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน นิ้วล็อก เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลัง ตาแห้ง และแน่นอนว่าอาการปวดหัว เวียนหัว ก็อาจมีส่วนจากออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน
- ไมเกรน
อาการปวดหัว คลื่นไส้ คือหนึ่งในอาการที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคไมเกรน ได้เช่นเดียวกัน โดยระยะเริ่มต้นอาจมีอาการปวดคอ อารมณ์แปรปรวน เห็นแสงระยิบระยับ หลังจากนั้นจึงเริ่มมีอาการปวดหัวและคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการทั้งหมดเกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ที่กระตุ้นก้านสมองจนมีอาการปวดร้าว
- โรคทางหู
เนื่องจากหู เป็นอวัยวะที่มีการทำงานเชื่อมต่อกับระบบประสาท ดังนั้นถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ จึงอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของหูได้ โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่
- หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบ เนื้องอกหูชั้นนอก กระดูกช่องหูหัก
- หูชั้นกลาง เช่น ชั้นกลางอักเสบ เลือดคั่งในหูชั้นกลาง เนื้องอกที่โพรงหลังจมูก
- หูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ความดันน้ำในหูชั้นในผิดปกติ ผลึกหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ เนื้องอกประสาทการทรงตัวหรือเส้นประสาทการได้ยิน
- โรคทางสมองและระบบประสาท
โรคทางระบบประสาทและสมองมักส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ได้ โดยอาจหมายถึงโรคระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมาจากสมองน้อย (Cerebellum) เป็นส่วนมาก ความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง หรือผู้ป่วยอาจติดเชื้อในระบบประสาท
- โรคอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังสามารถหมายถึงโรคอื่นๆ ได้แก่
- โรคโลหิตจาง
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- โรคหลอดเลือดตีบจากไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
- โรคกระดูกต้นคอเสื่อม
- โรคไต
- โรคภูมิแพ้
- ภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
โรคภัยที่ถูกยกมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่อาจมีผลทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ เท่านั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดหัว เวียนหัว อยากอาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
บริหารร่างกายบรรเทาอาการปวดหัว คลื่นไส้
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณมีอาการปวดหัว คลื่นไส้คือ การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนเกิดอาการปวดเมื่อยและส่งให้กลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งทำให้มีอาการปวดหัว คลื่นไส้
ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้หรือต้องการป้องกันอาการเหล่านี้ การบริการร่างกายด้วยวิธีต่างๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาอาการได้ โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
- ท่าบริหาร (สาย) ตาและกล้ามเนื้อคอ
- มองขึ้นและลงอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น 20 ครั้ง
- กลอกตาจากด้านซ้ายไปยังด้านขวาอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น 20 ครั้ง
- ท่าบริหารศีรษะ
- ก้มศีรษะและเงยหน้าขึ้นอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น 20 ครั้ง
- หลับตาลง หันศีรษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น 20 ครั้ง
- ท่าบริหารในท่านั่ง
- ยกไหล่ขึ้นและลง 20 ครั้ง
- หันไหล่ไปทางซ้ายและขวา 20 ครั้ง
- ท่าบริหารด้วยการเคลื่อนไหว
- โยนลูกบอลยางเหนือระดับสายตาจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง 10 ครั้งขึ้นไป
ท่ากายบริหารเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการได้บางกรณีเท่านั้น เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อ การนั่งทำงานจ้องหน้าจอนาน ดังนั้นคุณจึงควรการพักผ่อนและออกกำลังกายควบคู่กัน รวมถึงปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
สรุป
อาการปวดหัว คลื่นไส้ คืออาการทั่วไปที่อาจมีสาเหตุสืบเนื่องจากโรคที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการปวดหัว คลื่นไส้อย่างละเอียด เพื่อให้รู้เท่าทันโรคเหล่านี้
การรับประทานยาพาราเซตามอล หรือยาสำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และหากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาควรพบแพทย์ โดยสำหรับการบรรเทาอาการเบื้องต้นคุณสามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์และรับยาภายใน 1 ชั่วโมงผ่าน Medcare เพียงแค่แอด LINE https://liff.line.me/1656211307-YZBwnXVm หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://medcare.asia/